หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดาวอังคาร




ดาวอังคาร(mars)
  • บทเเนะนำ


ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดงหินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดงมีก้อนหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหวและเนินมากมายหนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลกแต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้งไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลกดาวอังคารอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมดเพราะเคยมีคนเชื่อว่ามีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆกับดาวศุกร์โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน40 ล้านกิโลเมตรเมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุดส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุดจะเห็นรายละเอียดได้ถึ150กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่น ไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหวหรือหลุมบ่อของดาวอังคารแต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆเช่นขั้วน้ำแข็งสีขาวหรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคารสาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคารเนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อจิโอวานนี ชิอาพาเรลลีรายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิวและเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้นผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคารเพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูจุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคารซึ่งจะเดินทางมาบุกโลกผู้ที่สนับสนุนความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนาเขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคารแต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่าตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคารแต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอนพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขาและมีปล่องภูเขาไฟมีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อนดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ
ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมายยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมาสามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณโดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตรภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวงบนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน


ภาพความแตกต่าของดาวอังคารระหวางอดีตและปัจจุบัน

  • เชิญอ่าน

ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ชั้นใน เช่นเดียวกับโลกของเราเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 ของระบบสุริยะจักรวาลมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ราว 1.5 เท่าของโลก (1.5 AU: Astonomical Unit) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวครึ่งของโลกพื้นผิวส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินและผงโลหะจำพวกเหล็กจึงทำให้ดูเห็นจากโลกเป็นสีแดงในขณะที่ขั้วโลกประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์แข็งและน้ำแข็งปกคลุมครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าดาวอังคารเป็นดาวฝาแฝดของโลกและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงมีเรื่องราว หรือนิยายมากมาย ที่กล่าวถึงดาวอังคารดวงนี้ในชื่อของ ดาวเคราะห์แดง (The Red Planet)

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง:
ดาวอังคาร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ6794 กิโลเมตร หรือ 4222 ไมล์ ซึ่งใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของโลก เล็กน้อย

มวล:
ดาวอังคารมีมวลประมาณ 6.42 x 10 23 กิโลกรัม หรือ ราว 1/9 ของมวลโลก

ความโน้มถ่วง:
ดาวอังคาร มีความโน้มถ่วงที่พื้นผิวราว 38% ของผิวโลก ดังนั้น สมมุติว่าท่านมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัมบนโลก จะมีน้ำหนักเหลือประมาณ 22.8 กิโลกรัม บนพื้นผิวดาวอังคาร

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์:
ดาวอังคาร ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 227,940,000 กิโลเมตร หรือ 141,600,000 ไมล์ คิดเป็นระยะประมาณ 1.5 เท่าของระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ถึงโลก (AU: Astromonical Unit) โดยที่ดาวอังคาร โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระยะห่างระหว่าง 206.6 - 249.2 ล้านกิโลเมตร จากดวงอาทิตย์

  • คุณสมบัติ

พื้นผิว
พื้นผิวดาวอังคารประกอบด้วยหิน ที่ประกอบด้วยโลหะ จำพวกเหล็กเป็นส่วนมาก และผงโลหะจำพวกเหล็ก จึงทำให้ดูเห็นจากโลกเป็นสีแดง ในขณะที่ขั้วโลก ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง และน้ำแข็งปกคลุม ภาพถ่ายแสดง Schiaparelli Hemisphere ซึ่งเป็นแอ่ง (Crator) ตรงกลางภาพ ที่เกิดจากการกระแทก จากอุกกาบาต บนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งแอ่งดังกล่าว มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ราว 450 กิโลเมตร (หรือราว 280 ไมล์) ในขณะที่พื้นที่สว่าง ตรงมุมขวาล่างของภาพ เป็นหลุมที่เกิดจากอุกกาบาตเช่นกัน และถูกปกคลุมด้วย คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง เมื่อเปรียบเทียบกับโลก:
ดาวอังคาร ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่า เป็นดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดาวอังคารจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าโลกมาก และแห้งแล้ง นอกจากนี้ ชั้นบรรยากาศที่เบาบาง ไม่สามารถป้องกันรังสีอันตราย ที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ได้ มีหลักฐานที่พอเชื่อได้ว่า ครั้งหนึ่ง ดาวอังคารมีลำธารของน้ำมาก่อน จากร่องของ Torrential Water Flows


ระยะเวลาที่โคจรรอบดวงอาทิตย์:
687 วัน (วันบนโลก)

ระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง:
24.6 ชั่วโมง

อุณหภูมิ:
ดาวอังคาร มีอุณหภูมิเฉลี่ย -65 องศาเซลเซียส (หรือ -85 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์) ขณะที่อุณหภูมิจริง อยู่ระหว่าง -140 ถึง +20 องศาเซลเซียส (หรือ -220 ถึง +70 องศาฟาร์เรนท์ไฮท์)



2 ความคิดเห็น:

  1. น่ารัก สวยดีนะ

    ตอบลบ
  2. หนาวขนาดนี้มนุษย์ต่างดาวเท่านั้นที่อยู่ได้ เหอะ ๆ ๆ ๆ เหมือนทะเลทรายบนโลกเลย หนาวพอ ๆ กัน อิอิ

    ตอบลบ